วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ห้องเรียนคุณภาพ ครูคุณภาพ
   
     
โรงเรียน เป็น ชีวิตของเด็ก ครู และผู้บริหาร
"ห้องเรียน คือ ชีวิตของเด็กและการทำงานของครู"
"ห้องเรียนคุณภาพ น่าจะเป็นสื่อที่ดี ที่จะสะท้อนไปยังนักเรียน ครู และผู้บริหาร"
   
สนุกกับการเรียนรู้แบบ Group Dynamics กับ M.T.D.
    
    

องค์ประกอบห้องเรียนคุณภาพ แบบฉบับ M.T.D. ประกอบด้วย
  • การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
  • ICT ในห้องเรียน
  • CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง
  • การสร้างวินัยเชิงบวกในห้องเรียน
  • ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง






ลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ในแบบ M.T.D.
  • เป็นกระบวนการของปัญญาพัฒนาเด็ก
  • เรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
  • บูรณาการสาระการเรียนรู้
  • เป็นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง
  • เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้ บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

บทบาทครูในห้องเรียนคุณภาพ
  • จัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้เรียน
  • สนับสนุนให้นักเรียนได้เข้าถึง และใช้งาน ICT
  • พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
  • ปรับบทบาทและวิธีการสอน
  • มุ่งมั่นที่จะดำเนินการ

ครูควรพัฒนาตนเองอย่างไร ?
  • ใช้.. อินเทอร์เน็ตในการพัฒนาและเตรียมการจัดการเรียนรู้ให้มากกว่าเดิม
  • ใช้.. คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ หรือให้ข้อมูลนักเรียน โดยยึดหลักของความแตกต่าง
  • ใช้.. คอมพิวเตอร์ในการค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกที่มีความจำเป็นต่อการจัดกิจกรรมในด้านต่างๆ














การประเมินห้องเรียนคุณภาพ
คุณครูทุกคนกรุณาศึกษา KPI ขององค์ประกอบห้องเรียนคุณภาพทั้ง 5 ด้าน คือ
  1. การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
  2. ICT ในห้องเรียน
  3. CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง
  4. การสร้างวินัยเชิงบวกในห้องเรียน
  5. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

 ที่มา:T.M.D.knowledge
http://www.kroobannok.com/
แบบประเมินห้องเรียนคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1
รวบรวมโดย
         กัลชนา  ธรรมมา
         ปรียนันท์   ภูมิพัฒน์เมธี
         สุริยันต์     แผลงประพันธ์

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข่าวสาร

รับสมัครครูผู้ช่วย

            

 

                         - เกณฑ์คัดบิ๊ก กศน.

ก.ค.ศ. ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเป็นข้าราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วย รับสมัครสอบ 4-10 เม.ย. ประกาศรายชื่อมีสิทธิ์สอบ ภายในวันที่ 17 เม.ย. และสอบภาค ก. 25-26 เม.ย. ภาค ข. 27 เม.ย. ภาค ค. 28 เม.ย ประกาศผล 6 พ.ค.54
            
 

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
 
            อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตรประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว  สูงประมาณ 200 เมตร    จากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร        คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

ตัวปราสาท
ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อ        เนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษ      ที่ 18   พระเจ้าชัยวรมันที่ 7  แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถาน  แห่งนี้ จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถาน ในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจาก  หินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่า     ภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
                    ปราสาทประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุนก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตร สูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย          เรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชน ที่มีปราสาทพนมรุ้ง เป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรตที่ 17    
        
 สถาปัตยกรรมและโบราณสถาน
ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้า สูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผัง  ของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรงและเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลางนั่นคือปราสาทประธาน ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะ เป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน
สะพานนาคราช
ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ 35 ต้นทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูงราวสะพานทำเป็นลำตัว พญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้าสิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด         ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐานจากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันได จำนวน   52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออกมีสะพานนาคราช      ชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถ   เดินทะลุ  ถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคด       ทำเป็นซุ้มกากบาทที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤๅษีซึงหมายถึง  พระศิวะ ในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บและอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครูดีในดวงใจ

คณะกรรมการประเมครูดีในดวงใจ
  
อธิบายชิ้นงานและเชิญชมงาน
 
สัมพันธ์ ครู ผู้ปกครอง นักเรียน

นำนักเรียนไปแข่งขันแอโรบิคตัวแทนเขต 4 ที่จังหวัดอุดร

งานอำลาอาลัยผู้บริหารเกษียณอายุราชการ
  
รับวุฒิบัตรจากผู้อำนวยการ

ร่วมกิจกรรมจุดเทียนชัยถวายพระพร
 
ร่วมรับประทานอาหารกับเพื่อนร่วมรุ่นปิดคอสวิชานวัตกรรมทางการศึกษา

ร่วมอวยพรวันคล้ายวันเกิดของ ดร.สมจิต  สงสาร

ร่วมขบวนรับพระราชทานพดยศพระครูธรรมโชติ
 วัดบ้านดอน ตำบลหายโศก อำเภอพุทไธสง
 
ถ่ายรูปกับผู้อยู่เบื้องหลังของความสำเร็จด้วยความภาคภูมิใจ

สังสรรค์ปีใหม่กับครอบครับและหลาน ๆ